ประหยัดเงินและสนุกกับการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวคุณเอง

Written by 8:39 am สุขภาพ

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อป่วยโรคสะเก็ดเงิน

 Psoriasis หรือ โรคสะเก็ดเงิน คือ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคติดเชื้อ และไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถพบผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินได้โดยร้อยละ 1-2 ของคนทั่วไป เนื่องจากเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งโรคสะเก็ดเงินไม่มีอันตรายถึงชีวิต เพียงแต่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ (การรักษา) ทำให้ใครหลายคนอาจเกิดความวิตกกังวล และไม่สบายใจว่าโรคสะเก็ดเงินอันตรายไหม หรือโรคสะเก็ดเงินติดต่อไหมเพราะอยู่กับครอบครัว และอาจสงสัยว่าทำไมอาการสะเก็ดเงินกำเริบบ่อย หรือไม่หายจากโรคนี้เสียที เราได้รวบรวมข้อมูลโรคสะเก็ดเงินที่ควรรู้เพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการดูแลตนเอง หรือคนใกล้ชิดที่ป่วยด้วยโรคสะเก็ดเงินไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ 

โรคสะเก็ดเงินเกิดจากอะไร 

โรคสะเก็ดเงินเกิดจากระบบคุ้มกันภายในร่างกายผิดปกติ น้ำเหลืองเสีย และเซลล์ในร่างกายถูกกระตุ้นจากปัจจัยภายนอก โดยอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม สิ่งกระตุ้นจากภายนอก หรือ การมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคอ้วน หรือ ภาวะไขมันในเลือดสูง 

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นสะเก็ดเงิน 

โรคสะเก็ดเงิน อาการเริ่มแรกจะมีผื่นหนา แดงปื้น ลักษณะเป็นขอบชัดเจน นูน มีขุยขาวหรือสีเทา ๆ ออกสีเงินปกคลุม ขุยหลุดลอกง่าย อาจเป็นแผ่นเล็ก ๆ คล้ายรังแค มีอาการคัน เมื่อเกามาก ๆ จะทำให้เกิดแผลและแสบผิว บางรายอาจมีตุ่มหนองเล็ก ๆ บนผื่นแดง หรือบนรอยถลอกและแผลผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่ผื่นผิวหนังจะกระจายในบริเวณที่มีการเสียดสี เช่น หนังศีรษะ ไรผม ใบหน้า แผ่นหลัง สะโพก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ศอก เข่า แข้ง ข้อเท้า มีจุดสีน้ำตาลใต้เล็บ หรือเล็บมีหลุม เล็บร่อน ปลายเล็บหนา มีการอักเสบตามข้อต่าง ๆ อาจเป็นที่ข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีข้ออักเสบเรื้อรังหลายแห่ง  

ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินห้ามกินอะไรบ้าง

อาหารเป็นอีกตัวแปรที่จะนำพาไปสู่การหายจากโรคสะเก็ดเงินได้เร็วหรือช้า และอาหารบางประเภทจะไปกระตุ้นให้อาการโรคสะเก็ดเงินกำเริบขึ้นมาอีกได้เช่นกัน และผู้ป่วยหลายรายที่มักจะรักษาโรคสะเก็ดเงินไม่หายเสียที อันเนื่องมาจากอาหารนั่นเอง  ดังนั้น ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินควรงดทานอาหาร ดังต่อไปนี้ 

  • อาหารแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นปลาเค็ม ปลาร้า ลูกชิ้น ปลากระป๋อง กะปิ อาหารแช่แข็ง เนย เบคอน ชีส รวมไปถึงอาหารหมักดองทุกชนิด ผลไม้ดอง ผักดองต่าง ๆ 
  • อาหารรสเปรี้ยว เพราะรสเปรี้ยวแสลงกับโรคน้ำเหลืองทุกชนิด จะทำให้แผลหายช้า และเกิดแผลดำ 
  • อาหารรสจัด ไม่ว่าจะเปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด หวานจัด โดยเฉพาะรสเผ็ดจะกระตุ้นให้เกิดความร้อนและทำให้ผื่นสะเก็ดเงินแดงมากยิ่งขึ้น 
  • อาหารทะเล มีสารกระตุ้นอาการแพ้ ก่อให้เกิดอาการคันในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำได้ง่าย ควรงด หมึกทุกชนิด หอย กุ้ง กั้ง แมงดา แมงกะพรุน ปลาสำลี ปลาทู ปลาซาบะ ปลาอินทรีย์เค็ม ไข่หอยเม่น และ ปูดองทุกชนิด 
  • เนื้อสัตว์ มีสารกระตุ้นการอักเสบ ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง ส่งผลให้อาการสะเก็ดเงินกำเริบ ได้แก่ เนื้อวัว เป็ด หรือ ห่าน  
  • ผัก ได้แก่ กุยช่าย กระถิน กระเฉด ชะอม หน่อไม้ กะหล่ำปลีดิบ แครอทดิบ บีทรูท มะระ 
  • ผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ สับปะรด ลองกอง มะไฟ มะปราง มะยม มะดัน มะม่วงสุก มะพร้าว สละ ละมุด ตะลิงปลิง ขนุน จาวตาล น้อยหน่า เสาวรส อ้อย 

โรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไร

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังเรื่้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่รักษาเพื่อบรรเทาอาการให้ลดลงได้ และอาจมีอาการกำเริบเมื่อถูกกระตุ้น แต่ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกวิธี และหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว อาการของโรคสะเก็ดเงินจะสามารถสงบได้นานหลายปีเลยทีเดียว 

การดูแลตนเองเบื้องต้น 

หลีกเลี่ยงการเกาและแกะแผล และเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่จะไปกระตุ้นให้อาการสะเก็ดเงินกำเริบ เช่น อาหารแสลง ความเครียด การพักผ่อนน้อย การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงงดการใช้ยาบางชนิดที่อาจเกิดผลข้างเคียงและกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ หากมีผื่นจำนวนมาก หรือมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษา และได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง 

(Visited 11 times, 1 visits today)
Close