ประหยัดเงินและสนุกกับการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวคุณเอง

Written by 3:52 pm Lifestyle, สุขภาพ

รู้ทัน มะเร็งลิ้นอาหาร จะได้ไม่ป่วย มะเร็งลิ้นระยะสุดท้าย

“มะเร็งลิ้นอาหาร” เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งช่องปากที่พบบ่อยที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายและส…
มะเร็งลิ้นอาหาร

“มะเร็งลิ้นอาหาร” เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งช่องปากที่พบบ่อยที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรุนแรงได้ ดังนั้น การสังเกตอาการและรีบพบแพทย์เพื่อรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาหายได้สูงขึ้น 

ลิ้น คือ มัดกล้ามเนื้อที่มีความยืดหยุ่นสูง ลักษณะของลิ้นจะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมป้าน มีเส้นประสาทและเส้นเลือดจำนวนมาก ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง และเป็นอวัยวะส่วนสำคัญหนึ่งในการรับรสชาติ อีกทั้งยังช่วยออกเสียงในการพูด การสนทนากับผู้คน แต่ ลิ้น ก็สามารถเกิดมะเร็งได้เหมือนกับอวัยวะอื่น ๆ ได้เช่นกัน อย่างที่เกริ่นในหัวข้อไว้แล้วซึ่งก็คือ มะเร็งลิ้น

โครงสร้างและกลไกการรับรสของลิ้นทำหน้าที่อะไร ระบบย่อยอาหาร

โครงสร้างของลิ้นจำแนกได้เป็น 3 ส่วนย่อยด้วยกัน ได้แก่ 

  1. ฐานหรือโคนลิ้น เป็นส่วนกล้ามเนื้อที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ เชื่อมต่อกับฐานของช่องปาก มีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่าง ๆ ทำหน้าที่ยึดลิ้นกระดูกไฮออยด์ (Hyoid Bone) เพื่อรักษาความสมดุลของตำแหน่งอวัยวะต่าง ๆ ในลำคอให้เหมาะสม
  2. ด้านหลังของลิ้น คือ พื้นผิวด้านบนของลิ้น ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมาก มีหน้าที่รับสัมผัส และรับรสชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาในช่องปาก  
  3. ปลายลิ้นและด้านข้างของลิ้น คือ ส่วนของกล้ามเนื้อที่สามารถเคลื่อนไหวได้ดี  

ต่อมรับรสมีอะไรบ้าง

ต่อมรับรสมีอะไรบ้าง

 

ต่อมรับรสคือปุ่มขนาดเล็ก ๆ บนผิวลิ้น มีลักษณะขรุขระกระจายทั่วลิ้น เรียกว่า พาพิลลา (Papillae) ทำหน้าที่เพิ่มผิวสัมผัสและรสชาติอาหารต่าง ๆ ผ่านตุ่มรับรสที่โคนลิ้น (Taste Buds) ขนาดเล็ก ๆ 4 ชนิด โดยที่ตุ่มรับรสแต่ละชนิดจะทำหน้าที่รับรสชาติแตกต่างกันไป ได้แก่ 

  1. รสหวาน
  2. รสขม 
  3. รสเค็ม 
  4. รสเปรี้ยว 

สาเหตุหลัก ๆ การเกิดโรคมะเร็งลิ้น 

smoking

มะเร็งลิ้น สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากพฤติกรรม เช่น 

  1. สูบบุหรี่ 
  2. ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ 
  3. เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  4. ลิ้นมีแผลเรื้อรัง 
  5. การเคี้ยวหมาก
  6. ป่วยโรคตับแข็ง หรือโรคซิฟิลิส 
  7. รับประทานผักและผลไม้น้อย 
  8. สุขภาพช่องปากไม่ดี เช่น ฟันแตก ฟันปลอมไม่พอดีกับร่องฟัน ไม่ดูแลความสะอาดในช่องปาก ฯลฯ 
  9. มีประวัติคนในครอบครัวเคยเคยเป็นโรคมะเร็งในช่องปาก 

อาการมะเร็งลิ้นที่ควรสังเกต 

  1. มีก้อนที่ลิ้น อาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย 
  2. มีแผลเรื้อรังที่ลิ้นนานประมาณ 2-4 สัปดาห์ 
  3. มีฝ้าสีขาวหรือสีแดงบนลิ้นนานกว่า 2 สัปดาห์ และไม่หายไปหลังจากขัดออกด้วยแปรง
  4. เจ็บคอเรื้อรัง 
  5. ปากชาเรื้อรัง 
  6. เจ็บเมื่อกลืนอาหาร 
  7. มักจะมีเลือดออกที่ลิ้นโดยไม่รู้สาเหตุ 

มะเร็งลิ้นรักษาอย่างไร 

การรักษาโรคมะเร็งลิ้นอาหารจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น ระดับการแพร่กระจาย ซึ่งแพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีใดวิะีหนึ่ง หรืออาจรักษามะเร็งลิ้นร่วมกันหลายวิธี ดังต่อไปนี้ 

  1. การผ่าตัดมะเร็งลิ้น คือวิธีการรักษามาตรฐานที่นิยมใช้ทั่วไป ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีก้อนเนื้อมะเร็งขนาดเล็ก และยังไม่แพร่กระจาย โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดขนาดเล็ก เพื่อนำเอาเฉพาะก้อนเนื้อมะเร็งอาการน้อยที่อยู่บริเวณลิ้นออกไป แต่ถ้าหากก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือเริ่มมีการแพร่กระจายไปส่วนอื่น แพทย์อาจต้องตัดบางส่วนของลิ้น เนื้อเยื่อ หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออกไปด้วย และต้องนำผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจากส่วนอื่นเพื่อมาปิดและตกแต่งบริเวณแผลหลังจากผ่าตัด 
  1. การทำรังสีบำบัด คือ การนำรังสีมาใช้ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยจะใช้ในกรณีที่เนื้องอกมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรืออยู่ในบริเวณที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ โดยเฉพาะมะเร็งบริเวณโคนลิ้น
  1. การทำเคมีบำบัด คือ การใช้ยาหลากหลายด้วยกัน อาจให้ยากินหรือฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำของผู้ป่วย เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการผ่าตัด หรือการทำรังสีบำบัด 
  1. การให้ยาเจาะจางเซลล์มะเร็ง คือ การรักษามะเร็งลิ้นอาหารด้วยยารักษาแบบเจาะจงเซลล์มะเร็งโดยจำเพาะ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง มักจะใช้ร่วมกับการทำรังสีบำบัดและเคมีบำบัด 
  1. การบำบัดด้วยการใช้ยาและฉายแสงทำลายเซลล์มะเร็ง ที่เรียกว่า Photodynamic Therapy ซึ่งแพทย์จะใช้ยาเพื่อให้เนื้อเยื่อมะเร็งมีความไวต่อแสง จากนั้นจะฉายแสงเลเซอร์เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง แต่วิธีนี้จะช่วยควบคุมการแพร่กระจายของมะเร็งได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล  
  1. บำบัดและฟื้นฟูหลังจากเสร็จสิ้นการรักษามะเร็งลิ้น เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานของลิ้นกลับมาเป็นปกติ แพทย์อาจจะต่อสายยางให้อาหารหากผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืนอาหาร หรือกินอาหารเองยังไม่ได้ และผู้ป่วยจะต้องทำการเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นมะเร็งลิ้นซ้ำอีกครั้ง  

การป้องกันโรคมะเร็งลิ้น 

พบทันตแพทย์

แม้ว่ายังไม่มีวิธีการป้องกันมะเร็งลิ้นโดยตรง แต่สามารถป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งลิ้นอาหารได้โดยการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลิ้นได้ ดังนี้ 

  1. ไม่สูบบุหรี่หรือเคี้ยวยาสูบ 
  2. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาจดื่มเป็นครั้งคราวและในปริมาณน้อย ๆ 
  3. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV 
  4. ดูแลรักษาความสะอาดสุขภาพฟันและเหงือกในช่องปากสม่ำเสมอ 
  5. รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ 
  6. ควรพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน หรือทุกปี 
  7. กรณีใส่ฟันปลอม ควรเลือกฟันปลอมที่ใส่ได้พอดีกับฟันเดิม 
  8. ควรป้องกันเสมอเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการออรัลเซ็กส์
(Visited 345 times, 1 visits today)
Close