“มะเร็งลิ้นอาหาร” เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งช่องปากที่พบบ่อยที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรุนแรงได้ ดังนั้น การสังเกตอาการและรีบพบแพทย์เพื่อรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาหายได้สูงขึ้น
ลิ้น คือ มัดกล้ามเนื้อที่มีความยืดหยุ่นสูง ลักษณะของลิ้นจะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมป้าน มีเส้นประสาทและเส้นเลือดจำนวนมาก ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง และเป็นอวัยวะส่วนสำคัญหนึ่งในการรับรสชาติ อีกทั้งยังช่วยออกเสียงในการพูด การสนทนากับผู้คน แต่ ลิ้น ก็สามารถเกิดมะเร็งได้เหมือนกับอวัยวะอื่น ๆ ได้เช่นกัน อย่างที่เกริ่นในหัวข้อไว้แล้วซึ่งก็คือ มะเร็งลิ้น
โครงสร้างและกลไกการรับรสของลิ้นทำหน้าที่อะไร ระบบย่อยอาหาร
โครงสร้างของลิ้นจำแนกได้เป็น 3 ส่วนย่อยด้วยกัน ได้แก่
- ฐานหรือโคนลิ้น เป็นส่วนกล้ามเนื้อที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ เชื่อมต่อกับฐานของช่องปาก มีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่าง ๆ ทำหน้าที่ยึดลิ้นกระดูกไฮออยด์ (Hyoid Bone) เพื่อรักษาความสมดุลของตำแหน่งอวัยวะต่าง ๆ ในลำคอให้เหมาะสม
- ด้านหลังของลิ้น คือ พื้นผิวด้านบนของลิ้น ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมาก มีหน้าที่รับสัมผัส และรับรสชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาในช่องปาก
- ปลายลิ้นและด้านข้างของลิ้น คือ ส่วนของกล้ามเนื้อที่สามารถเคลื่อนไหวได้ดี
ต่อมรับรสมีอะไรบ้าง
ต่อมรับรสคือปุ่มขนาดเล็ก ๆ บนผิวลิ้น มีลักษณะขรุขระกระจายทั่วลิ้น เรียกว่า พาพิลลา (Papillae) ทำหน้าที่เพิ่มผิวสัมผัสและรสชาติอาหารต่าง ๆ ผ่านตุ่มรับรสที่โคนลิ้น (Taste Buds) ขนาดเล็ก ๆ 4 ชนิด โดยที่ตุ่มรับรสแต่ละชนิดจะทำหน้าที่รับรสชาติแตกต่างกันไป ได้แก่
- รสหวาน
- รสขม
- รสเค็ม
- รสเปรี้ยว
สาเหตุหลัก ๆ การเกิดโรคมะเร็งลิ้น
มะเร็งลิ้น สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากพฤติกรรม เช่น
- สูบบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ลิ้นมีแผลเรื้อรัง
- การเคี้ยวหมาก
- ป่วยโรคตับแข็ง หรือโรคซิฟิลิส
- รับประทานผักและผลไม้น้อย
- สุขภาพช่องปากไม่ดี เช่น ฟันแตก ฟันปลอมไม่พอดีกับร่องฟัน ไม่ดูแลความสะอาดในช่องปาก ฯลฯ
- มีประวัติคนในครอบครัวเคยเคยเป็นโรคมะเร็งในช่องปาก
อาการมะเร็งลิ้นที่ควรสังเกต
- มีก้อนที่ลิ้น อาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย
- มีแผลเรื้อรังที่ลิ้นนานประมาณ 2-4 สัปดาห์
- มีฝ้าสีขาวหรือสีแดงบนลิ้นนานกว่า 2 สัปดาห์ และไม่หายไปหลังจากขัดออกด้วยแปรง
- เจ็บคอเรื้อรัง
- ปากชาเรื้อรัง
- เจ็บเมื่อกลืนอาหาร
- มักจะมีเลือดออกที่ลิ้นโดยไม่รู้สาเหตุ
มะเร็งลิ้นรักษาอย่างไร
การรักษาโรคมะเร็งลิ้นอาหารจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น ระดับการแพร่กระจาย ซึ่งแพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีใดวิะีหนึ่ง หรืออาจรักษามะเร็งลิ้นร่วมกันหลายวิธี ดังต่อไปนี้
- การผ่าตัดมะเร็งลิ้น คือวิธีการรักษามาตรฐานที่นิยมใช้ทั่วไป ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีก้อนเนื้อมะเร็งขนาดเล็ก และยังไม่แพร่กระจาย โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดขนาดเล็ก เพื่อนำเอาเฉพาะก้อนเนื้อมะเร็งอาการน้อยที่อยู่บริเวณลิ้นออกไป แต่ถ้าหากก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือเริ่มมีการแพร่กระจายไปส่วนอื่น แพทย์อาจต้องตัดบางส่วนของลิ้น เนื้อเยื่อ หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออกไปด้วย และต้องนำผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจากส่วนอื่นเพื่อมาปิดและตกแต่งบริเวณแผลหลังจากผ่าตัด
- การทำรังสีบำบัด คือ การนำรังสีมาใช้ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยจะใช้ในกรณีที่เนื้องอกมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรืออยู่ในบริเวณที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ โดยเฉพาะมะเร็งบริเวณโคนลิ้น
- การทำเคมีบำบัด คือ การใช้ยาหลากหลายด้วยกัน อาจให้ยากินหรือฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำของผู้ป่วย เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการผ่าตัด หรือการทำรังสีบำบัด
- การให้ยาเจาะจางเซลล์มะเร็ง คือ การรักษามะเร็งลิ้นอาหารด้วยยารักษาแบบเจาะจงเซลล์มะเร็งโดยจำเพาะ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง มักจะใช้ร่วมกับการทำรังสีบำบัดและเคมีบำบัด
- การบำบัดด้วยการใช้ยาและฉายแสงทำลายเซลล์มะเร็ง ที่เรียกว่า Photodynamic Therapy ซึ่งแพทย์จะใช้ยาเพื่อให้เนื้อเยื่อมะเร็งมีความไวต่อแสง จากนั้นจะฉายแสงเลเซอร์เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง แต่วิธีนี้จะช่วยควบคุมการแพร่กระจายของมะเร็งได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
- บำบัดและฟื้นฟูหลังจากเสร็จสิ้นการรักษามะเร็งลิ้น เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานของลิ้นกลับมาเป็นปกติ แพทย์อาจจะต่อสายยางให้อาหารหากผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืนอาหาร หรือกินอาหารเองยังไม่ได้ และผู้ป่วยจะต้องทำการเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นมะเร็งลิ้นซ้ำอีกครั้ง
การป้องกันโรคมะเร็งลิ้น
แม้ว่ายังไม่มีวิธีการป้องกันมะเร็งลิ้นโดยตรง แต่สามารถป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งลิ้นอาหารได้โดยการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลิ้นได้ ดังนี้
- ไม่สูบบุหรี่หรือเคี้ยวยาสูบ
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาจดื่มเป็นครั้งคราวและในปริมาณน้อย ๆ
- ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV
- ดูแลรักษาความสะอาดสุขภาพฟันและเหงือกในช่องปากสม่ำเสมอ
- รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ
- ควรพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน หรือทุกปี
- กรณีใส่ฟันปลอม ควรเลือกฟันปลอมที่ใส่ได้พอดีกับฟันเดิม
- ควรป้องกันเสมอเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการออรัลเซ็กส์