ประหยัดเงินและสนุกกับการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวคุณเอง

Written by 4:55 pm Lifestyle, Staff's Picks

ช่างไฟฟ้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง? หน้าที่ของช่างมีอะไรบ้าง? ช่างไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

ช่างไฟฟ้ามีกี่ประเภท / ช่างไฟฟ้ามีอะไรบ้าง / ลักษณะอาชีพช่างไฟฟ้า / เป็นช่างไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติอะไ…
ช่างไฟฟ้ามีกี่ประเภท

ไฟฟ้า มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตตลอดวัน งานสื่อสาร คมนาคม ตลอดไปจนถึงระบบการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรม ล้วนแต่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญ และถึงแม้ว่าไฟฟ้ามีประโยชน์มหาศาล แต่ก็เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากเช่นกันหากใช้ผิดวิธี ดังนั้น การติดตั้งวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้า การซ่อมแซม บำรุง และดูแลระบบไฟฟ้าต่าง ๆ จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้มีความรู้ความชำนาญ ด้านระบบการไฟฟ้าโดยเฉพาะ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย 

ต้องยอมรับว่า ประเทศไทย นับว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการขับเคลื่อนในทางเศรษฐกิจ ด้านนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากช่างเทคนิคไทยที่มีฝืมือค่อนข้างมีจำนวนมาก อีกทั้งงานช่างไฟฟ้าเงินเดือนสูง เนื่องจากเป็นกลุ่มอาชีพที่ต้องการในตลาดแรงงานโลก ทำให้อาชีพช่างไฟฟ้าคืออันดับต้น ๆ ของประเภทงานที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นช่างไฟฟ้าในบ้าน ช่างไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม หรือช่างไฟฟ้าอุปกรณ์ 

บทความนี้เราได้รวบรวมเกี่ยวกับช่างไฟฟ้า เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับใครที่ต้องการยึดอาชีพ ช่างไฟฟ้า คุณสมบัติต้องมีอะไรบ้าง ช่างไฟฟ้าต้องทำอะไร หน้าที่ของช่างมีอะไรบ้าง ประเภทของช่างไฟฟ้ามีอะไรบ้าง ถ้าอยากเป็นช่างไฟฟ้าต้องเรียนอะไรบ้าง สามารถค้นหาคำตอบเพื่อใช้เป็นแนวทางกันต่อไป 

งานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง 

งานไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า ระบบงานไฟฟ้า หมายถึง งานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า ทั้งการผลิต การปรับปรุง ซ่อมแซม ตลอดไปจนถึงการติดตั้งวงจร และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด โดยพลังงานไฟฟ้าที่คนไทยนิยมที่สุดคือ ไฟฟ้ากำลัง และ ไฟฟ้าควบคุม โดยทั้ง 2 รูปแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  

1. ไฟฟ้ากำลังคืออะไร 

ไฟฟ้ากำลัง เป็นระบบไฟฟ้าที่สามารถนำไปใช้งานทั่วไปได้จริง โดยเป็นการส่งกำลังไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายใหญ่ไปยังรายย่อยต่าง ๆ เช่น บ้านเรือน สถานประกอบการ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยระบบการดูแลความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ด้วยการติดตั้งหม้อแปลง สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ก่อนมีการปล่อยกำลังไฟฟ้าสู่ชุมชน ซึ่งรูปแบบนี้เห็นได้จากเสาไฟฟ้าทั่วไป ซึ่งช่างไฟฟ้าด้านนี้จะต้องมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการผลิตกำลังไฟฟ้า รวมถึงเครื่องมือวัดไฟฟ้าด้วย 

2. ไฟฟ้าควบคุมคืออะไร

วงจรไฟฟ้าที่ถูกออกแบบเพื่อควบคุมไฟฟ้า โดยผ่านการออกแบบหรือการเขียนโปรแกรมสำหรับควบคุมระบบไฟฟ้า ซึ่งมักจะใช้ภายในระบบอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ เพื่อไว้ควบคุมเครื่องจักรอีกทีหนึ่ง สายพานลำเลียง หรือนำไปใช้กับการควบคุมหุ่นยนต์ แขนจักรกล และการทำงานในด้านไฟฟ้าที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ และการนำตัวเลขทางคณิตศาสตร์มาใช้คำนวณคำนวณ

ช่างไฟฟ้าหมายถึงใคร  

ช่างไฟฟ้า ภาษาอังกฤษเรียกว่า Electrician คือ คนที่มีอาชีพที่ต้องมีความรู้ มีทักษะช่างไฟฟ้า ครอบคลุมตั้งแต่ การเดินสายไฟฟ้า สายส่ง การติดตั้งวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงการปรับปรุง ซ่อมแซมวงจรไฟฟ้าด้วยความปลอดภัย และป้องกันงานไฟฟ้าไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน หรือแม้แต่ในเวลาที่ไม่ได้ใช้งานก็ตาม โดยช่างไฟฟ้าอาจเชี่ยวชาญในการเดินสายไฟฟ้าบ้าน งานไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม การเดินสายไฟเรือ หรือระบบไฟฟ้าบนเครื่องบิน 

ช่างไฟฟ้ามีกี่ประเภท และช่างไฟฟ้ามีอะไรบ้าง 

ช่างไฟฟ้ามีกี่ประเภท และช่างไฟฟ้ามีอะไรบ้าง 

ช่างไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ช่างไฟฟ้าซ่อมบำรุงทั่วไป และช่างไฟฟ้าติดตั้งระบบ 

หน้าที่ของช่างไฟฟ้าซ่อมบำรุงทั่วไป 

  1. วางแผนการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า 
  2. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามแผนซ่อมบำรุง 
  3. ซ่อมระบบไฟฟ้าที่ชำรุด 
  4. ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
  5. ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในตู้ควบคุม
  6. อบรมให้ความรู้เรื่องระบบไฟฟ้าให้กับพนักงาน

หน้าที่ของช่างไฟฟ้าติดตั้งระบบ 

  1. ออกแบบระบบไฟฟ้าให้ได้มาตรฐาน 
  2. ติดตั้งระบบไฟฟ้าตามมาตรฐาน 
  3. วิเคราะห์การทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  4. วางแผนร่วมกันกับช่างไฟฟ้าซ่อมบำรุง 
  5. พัฒนาระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ 

สาขาอาชีพช่างไฟฟ้ามีอะไรบ้าง 

สาขาอาชีพช่างไฟฟ้ามีอะไรบ้าง 

ในส่วนของ พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ได้กำหนดสาขาอาชีพช่างฝีมือแรงไว้ โดย ช่างไฟ เป็นหนึ่งในสาขาวิชาช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ โดยสาขาอาชีพช่างไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 

  1. สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร คือ ช่างติดตั้งระบบไฟฟ้ากำลัง แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่เกิน 1,000 โวลต์ สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 3 เฟส ซึ่งใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงไม่เกิน 1,500 โวลต์ รวมไปถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร ตรวจสอบระบบไฟฟ้า และซ่อมบำรุง แก้ไขเมื่อระบบไฟฟ้าเกิดขัดข้อง โดยมีทักษะช่างไฟฟ้า สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร ได้ตามความสามารถที่กำหนดไว้ในระดับชั้นสาขาอาชีพ 
  1. สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม คือ ผู้ชำนาญการติดตั้งระบบไฟฟ้ากำลัง แรงดันไฟฟ้าต่ำ กระแสลสลับไม่เกิน 1,000 โวลต์ สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 3 เฟส และใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงไม่เกิน 1,500 โวลต์ ตลอดไปจนถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจสอบระบบไฟฟ้า โดยสามารถอ่านแบบ กำหนดค่าขนาด ทดสอบ ติดตั้งและเดินสายไฟฟ้าในงานอุตสาหกรรม การใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ บริภัณฑ์ไฟฟ้า เครื่องวัดแผงจ่ายไฟฟ้า ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า และหาสาเหตุการขัดข้องของระบบไฟฟ้า พร้อมกับแก้ไขปัญหา ซ่อมแซม บำรุงวงจรควบคุมมอเตอร์ และบันทึกข้อมูลจากเครื่องวัดตามความสามารถที่กำหนดไว้ในระดับชั้นสาขาอาชีพ
  1. สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกอาคาร สามารถแก้ไขและซ่อมแซมระบบไฟฟ้าที่ขัดข้องได้ตามความสามารถที่กำหนดไว้ในระดับชั้นสาขาอาชีพ 
  1. สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าการควบคุมทางอุตสาหกรรม คือ ช่างที่ดำเนินการงานระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรม โดยทำงานติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า ออกแบบและวางผังไฟฟ้าอุตสาหกรรม ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ แก้ปัญหาระบบไฟฟ้าในโรงงาน รวมไปถึงการจดบันทึกข้อมูลจากเครื่องมือวัดไฟฟ้าได้ตามความสามารถที่กำหนดไว้ในระดับชั้นสาขาอาชีพ 

ลักษณะอาชีพช่างไฟฟ้าต้องทำอะไรบ้าง? 

ลักษณะอาชีพช่างไฟฟ้าต้องทำอะไรบ้าง

สำหรับช่างไฟฟ้าหน้าที่ทำอะไรบ้างนั้น หลักการทำงานที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของช่างด้วย โดย

ช่างไฟฟ้า ลักษณะงานที่ทำจะเกี่ยวกับการเดิมและซ่อมสายไฟฟ้า ติดตั้งและซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมหรือในสถานประกอบการต่าง ๆ โดยทำตามกฏข้อกำหนดทางไฟฟ้า ตั้งแต่การเลือกชนิด ขนาดของสายไฟฟ้า เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ามีคุณภาพและปลอดภัยต่อการใช้งานสูง เช่น สวิตซ์ ปลั๊ก แผงควบคุมการจ่ายไฟ การต่อสายเข้าอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายขณะใช้งาน โดยจะต้องศึกษารายละเอียดและรูปแบบการติดตั้งอุปกรณ์ตามแบบการเดินสายไฟฟ้า ทั้งการเดินสายแบบโชว์ ท่อโลหะ หรือสายร้อยท่อพีวีซี การซ่อนแนวเดินสายไฟฟ้าในเพดาน ผนัง ทำเกลียว ดัด ตัด ติดท่อทอดสายไฟ ชักสายไฟผ่านท่อ วางสายเคเบิลหุ้มฉนวน สามารถตรวจหาสาเหตุการขัดข้องของระบบไฟฟ้า และดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง ซ่อมแซม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

คุณสมบัติของการเป็นช่างมีอะไรบ้าง? 

คุณสมบัติของการเป็นช่างมีอะไรบ้าง

ไฟฟ้า มีทั้งประโยชน์และโทษ หากใช้งานผิดวิธีหรือติดตั้งและใช้อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน อันตรายจากไฟฟ้าที่มีผลต่อชีวิต อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากได้รับกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ โดยอันตรายที่ส่งผลต่อร่างกายทำให้มีอาการกล้ามเนื้อแข็งตัว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จนหัวใจหยุดทำงานในที่สุด เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย และระบบประสาทชะงัก ส่วนกรณีไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน ได้แก่ ไฟลัดวงจร กระแสไฟประทุ จนเกิดการระเบิด และกลายเป็นเพลิงไหม้ ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย และทุกปี มักจะเกิดไฟไหม้บ่อยครั้งจากความประมาทด้วยการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าราคาถูกแต่ไม่มีคุณภาพ หรือการเรียกใช้บริการช่างไฟฟ้าที่ไม่มีความสามารถแท้จริง 

เนื่องจาก กระทรวงแรงงานได้ประกาศกฏหมาย อาชีพช่างไฟฟ้า คือ อาชีพที่เสี่ยงต่ออันตรายสาธารณชน ดังนั้น จึงได้มี พ.ร.บ.ให้อาชีพช่างไฟฟ้าต้องมีบัตรประจำตัว และมีคุณสมบัติช่างไฟฟ้าดังนี้ 

  1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี 
  2. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพื่อทำงานในระดับ ช่างฝีมือ 
  3. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพื่อทำงานในระดับ ช่างเทคนิค 
  4. ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้า 
  5. มีประสบการณ์ทำงานสาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อย่างน้อย 1 ปี 
  6. ผ่านการฝึกอบรมในสาขาช่างไฟฟ้า

คุณสมบัติทั่วไปซึ่งเป็นทักษะช่างไฟฟ้าที่ควรมี เช่น 

คุณสมบัติทั่วไปซึ่งเป็นทักษะช่างไฟฟ้าที่ควรมี
  1. อ่านให้ขาด วิเคราะห์ให้เป็น เพราะช่างได้จะได้รับมอบหมายงานผ่านหลายช่องทาง ทั้งในรูปแบบอีเมล หรือกระดาษที่เขียนข้อความ ช่างไฟฟ้าจะต้องอ่านและตีความให้ชัดเจน รวมถึงการเขียนสรุปงาน เพื่อช่างไฟคนอื่น ๆ สามารถเข้าใจตรงกันและทำงานร่วมกันไดด้อย่างราบรื่น 
  1. มีร่างกายแข็งแรง หรือพร้อมทำงานและตื่นตัวตลอดเวลาเพราะสิ่งที่ช่างไฟจะต้องเจอคือการยืนเป็นเวลานาน การต้องยกอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมาก ต้องปีนขึ้น-ลงบันไดเหล็ก หรือบันไดนั่งร้านบ่อยครั้ง ผู้เป็นช่างไฟจึงต้องมีร่างกายแข็งแรง หรือพร้อมและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา 
  1. มีทักษะการสื่อสารและการบริการ เพราะช่างไฟจะต้องติดต่อกับคนในการทำงาน โดยมีทั้งคนเข้าใจและคนที่ไม่เข้าใจระบบไฟฟ้า ช่างไฟฟ้าจึงต้องมีใจรักบริการ และสามารถสื่อสารให้คนเหล่านั้นเข้าใจและสามารถใช้งานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  2. มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร สามารถทำงานกลางแจ้งได้ 
  3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบการคิดคำนวณ มีควาละเอียดรอบคอบ 
  4. มีความมั่นใจในตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ 
  5. มีความเป็นผู้นำ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 

ดังนั้น ช่างไฟฟ้านอกจากจะต้องสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร และมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังต้องมีความกระฉับกระเแง ช่างสังเกต ตาไม่บอดสี เพราะต้องบอกประเภทการใช้งานสายไฟที่สีต่าง ๆ ของฉนวนที่เป็นตัวกำหนดและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี 

ช่างไฟฟ้าเรียนอะไรบ้าง

ช่างไฟฟ้าจะเรียนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เช่น การเดินสายไฟฟ้าในบ้าน การติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ การตรวจสอบระบบไฟฟ้า การวางระบบวงจรไฟฟ้า การแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าขัดข้อง การซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น 

สรุป

ช่างไฟฟ้า

แม้ว่าอาชีพช่างไฟฟ้า ประโยชน์คือรายได้สูงและเป็นอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการทั่วโลก แต่ช่างไฟฟ้าคืออาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้ตลอดเวลา ผู้ที่ต้องการเป็นช่างไฟฟ้าจึงต้องตั้งใจพัฒนาความรู้และฝึกให้มีความชำนาญอย่างสม่ำเสมอ ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ประมาท และควรยื่นเรื่องเข้าสอบขอใบรับรองเพื่อเป็นบัตรประจำตัวช่างไฟฟ้า เพื่อใช้ประกอบในการทำงานได้อย่างถูกกฏหมาย เพราะหากทำงานเป็นช่างไฟฟ้าไม่มีบัตรประจำตัว จะถูกปรับไม่เกิน 5,000 บาท และผู้จ้างงานก็จะมีความผิด และมีโทษปรับไม่เกิน  30,000 บาทเช่นกัน 

(Visited 259 times, 1 visits today)
Close